คลินิกโรคหัวใจ

“หัวใจ” เป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์ โดยมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย คลินิกหัวใจ โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล จึงให้ความสำคัญในการให้บริการตรวจรักษาโรคหัวใจโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้วยเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย หากมีความจำเป็นต้องส่งต่อเพื่อทำหัตถการที่สำคัญ เรามีโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชน สามารถดำเนินการส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • คุณเคยสังเกตตัวเองบ้างไหม?
    • ใจสั่น
    • เหนื่อยง่าย
    • หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
    • ใจเต้นเร็วผิดจังหวะ
    • นอนราบแล้วเหนื่อย ต้องลุกขึ้นมาหายใจกลางดึก
    • แน่นหน้าอก จุกลิ้นปี่ หายใจไม่ออก
    • เหงื่อออกง่าย ตัวเย็น
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    • โรคลิ้นหัวใจรั่ว
    • โรคหัวใจโต
    • โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
    • โรคหัวใจเต้นผิดปกติ
    • โรคหัวใจวาย

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย Exercise Stress Test (EST) เป็นการตรวจชนิดหนึ่งซึ่งสามารถวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย ช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการตอบสนองที่ผิดปกตินี้จะบ่งชี้ว่ามีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในระหว่างการออกกำลังกาย

ขั้นตอนของการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST


• การทดสอบจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง


• เจ้าหน้าที่ จะซักประวัติทางการแพทย์ของผู้รับการทดสอบ เน้นอาการปัจจุบัน และประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ

‍• เจ้าหน้าที่จะนำแผ่นขั้วไฟฟ้า (electrode) ที่มีสายไฟต่ออยู่มาติดที่หน้าอกของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อส่งสัญญาณจังหวะ และอัตราการเต้นของหัวใจไปยังเครื่อง โดยระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่จะเฝ้าสังเกตความดันโลหิต และคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลาที่ตรวจ


• เจ้าหน้าที่จะนำแผ่นขั้วไฟฟ้า (electrode) ที่มีสายไฟต่ออยู่มาติดที่หน้าอกของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อส่งสัญญาณจังหวะ และอัตราการเต้นของหัวใจไปยังเครื่อง โดยระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่จะเฝ้าสังเกตความดันโลหิต และคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลาที่ตรวจ


• เมื่อเริ่มขั้นตอนการออกกำลัง ผู้เข้ารับการตรวจจะเดินช้าๆ บนสายพานออกกำลัง โดยความเร็ว และความชันของสายพานจะเพิ่มขึ้นทุกสามนาที เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจถึงระดับที่ต้องการหรือผู้เข้ารับการตรวจไม่สามารถออกกำลังกายต่อได้แล้ว เจ้าหน้าที่จะหยุดสายพาน

วิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST


• งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการทดสอบ 2 ชั่วโมง ควรงดอาหารมันมัน งดดื่ม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


• สามารถรับประทานยาตอนเช้าวันที่มาตรวจได้ตามปกติ เว้นแต่แพทย์สั่งให้งดยารักษาโรคหัวใจบางชนิดซึ่งอาจทำให้ผลการทดสอบผิดเพี้ยน โดยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ก่อนเข้ารับการตรวจ


• นำรายการยา ที่รับประทานเป็นประจำ พร้อมรายละเอียดวิธีการใช้มาด้วยมาด้วยเมื่อมาพบแพทย์


• สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ และรองเท้า ให้เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย

สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในระหว่างการทดสอบ

ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีหากต้องการให้ สายพานลู่วิ่งชะลอความเร็วหรือหยุด พบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้  


• รู้สึก แน่นหน้าอก หรือ เจ็บหน้าอก
• คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ
• อ่อนเพลีย
• ความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ระหว่างการทดสอบ
• หัวใจเต้นผิดปกติ
• ผู้ทดสอบ วูบ หรือ หน้ามืด  ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดเจ็บถ้าผู้ป่วยล้มลง
• กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หัวใจวาย)

การปฎิบัติตน ภายหลังการการทดสอบ

เมื่อยุติการทดสอบแล้ว เจ้าหน้าทีจะยังบันทึกอัตราการเต้นหัวใจ และความดันโลหิตของผู้เข้ารับการทดสอบ จนกว่าค่าต่างๆจะกลับเป็นปกติ หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติใด ๆ อาจให้ทำการทดสอบเพิ่มเติม หรือเสนอวิธีการทดสอบอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ชัดเจนมากขึ้น

หลังจากทดสอบ ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถรับประทานอาหาร และยาของตนเอง และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เว้นแต่ได้รับคำสั่งห้ามจากแพทย์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล

โทร. 038 488 777

Location

328/1, Moo 9, Central Pattaya Road, Nong Prue, Bang Lamung,
Chonburi, Thailand, 20150
pmhospital@hotmail.com